ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
รู้หน้าที่ มีน้ำใจ ใฝ่ศึกษา พึ่งพาตน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนเทศบาล
๑ (เกริกกฤตยาอุปถัมภ์) เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล ตั้งขึ้นเมื่อวันที่
๒ มิถุนายน ๒๔๖๕ ใช้อาคารชั่วคราวของวัดบางเป็นสถานที่เรียน มีนายเกลี้ยง อิ่มพิทักษ์ เป็นผู้ดำเนินการดำรงอยู่ด้วยวิธีจัดเก็บเงินบำรุงการศึกษา ต่อมาอำมาตโทขุนสุนทรสินทร์
ศึกษาธิการจังหวัด นายเกลี้ยง
อิ่มพิทักษ์
นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร นายฟ้อน สุวรรณโชติ ศึกษาธิการอำเภอเมืองกำแพงเพชร
ได้จัดพิธีเปิดโรงเรียนชื่อว่า โรงเรียนประชาบาล (วัดบาง) เด็กที่เข้าเรียนอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยมีพระครูศรีวัชรโสภิต (ผิว ประดิษฐ์) พระราชาคณะ
เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรให้การอุปการะโรงเรียน ปี
พ.ศ. ๒๕๐๖ กระทรวงศึกษาธิการ
ได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่อยู่ในเขตเทศบาลให้เทศบาลเป็นผู้จัดการศึกษา เมื่อวันที่
๑ เมษายน ๒๕๐๖ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็นโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดบาง)
วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
เทศบาลได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดบางมาตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายสุทธิพร เกริกกฤตยา
บริจาคที่ดินจำนวน ๑๕ ไร่เศษ
ให้เทศบาลจัดสร้างอาคารเรียนใหม่เป็นอาคารเรียน ๒ ชั้น จำนวน ๑๐
ห้องเรียนและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น โรงเรียนเทศบาล ๑ (เกริกกฤตยาอุปถัมภ์)
ต่อมาในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๑ ได้เริ่มสร้างอาคารเรียนหลังที่
๒ เป็นอาคารเรียน ๒ ชั้น ๑๐ ห้องเรียน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๒
และได้ใช้ทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๒
อาคารเรียนดังกล่าวสร้างด้วยเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐
บาท
ในปี
พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับเงินอุดหนุนจากเทศบาลจำนวน ๘๗,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนหลังที่ ๓ เป็นอาคาร
ค.ส.ล. ๒ ชั้น เชื่อมต่ออาคารหลังที่ ๑ และหลังที่ ๒
เข้าด้วยกันเป็นอาคารเดียว
ต่อมาเมื่อวันที่
๒๕ กันยายน ๒๕๒๘ ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน ๘๗,๐๐๐
บาท สร้างอาคารหอประชุม เป็นอาคาร ค.ส.ล. ชั้นเดียว จำนวน ๑ หลัง ต่อมาเดือนธันวาคม ๒๕๓๗
ได้รับเงินอุดหนุนจำนวน ๑,๖๕๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนหลังที่ ๔ จำนวน
๔ ห้องเรียน เชื่อมต่ออาคารเรียนหลังที่ ๒
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
ได้รับเงินอุดหนุน จำนวน ๓,๐๙๖,๐๐๐ บาท และเงินสมทบจากเทศบาล จำนวน ๗๐๐,๐๐๐
บาท สร้างอาคารเรียนอนุบาลเป็นอาคาร ค.ส.ล.เป็นอาคารเอกเทศ จำนวน ๘ห้องเรียน
ใช้เป็นสถานที่เรียนสำหรับนักเรียนอนุบาล
ต่อมาวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๑
ได้รับเงินอุดหนุน จำนวน ๔,๗๓๕,๐๐๐ บาท สร้างอาคารอเนกประสงค์ จำนวน ๑
หลัง เพื่อใช้แทนอาคารหลังเดิมซึ่งมีขนาดเล็ก
ไม่สามารถรองรับนักเรียนจำนวนมากและได้ปรับอาคารหลังเดิมเป็นอาคารห้องสมุด
ในปีงบประมาณ ๒๕๔๓
เทศบาลได้ตั้งงบประมาณซ่อมแซมอาคารชั่วคราวเป็นห้องโสตทัศนศึกษา จำนวน ๑๒,๐๐๐
บาท ปรับปรุงพื้นห้องเรียนปูกระเบื้อง จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ปูกระเบื้องโรงอาหาร จำนวน ๑๔๐,๐๐๐
บาท ก่อสร้างป้ายชื่อโรงเรียนเทศบาล ๑ (เกริกกฤตยาอุปถัมภ์) จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างบอร์ดประชาสัมพันธ์
จำนวน ๓๘,๐๐๐ บาท ก่อสร้างห้องเก็บเครื่องมือเกษตร จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท ปรับระบบไฟฟ้า KVE จำนวน
๒๘๐,๐๐๐ บาท
วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างจากเงินอุดหนุนและเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคาร ๓ ชั้น จำนวน
๑๒ ห้องเรียน รหัส สน.ศท.๓/๑๒ เป็นเงิน ๔,๘๙๘,๐๐๐ บาท เริ่มใช้เรียนวันที่ ๑ พฤศจิกายน
๒๕๔๕
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ก่อสร้างถนน
ค.ส.ล.กว้าง ๕-๘ เมตร ยาว ๒๗๔ เมตร หนา ๐.๑๕ เมตร รวมพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑,๙๔๔
ตารางเมตร พร้อมท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๐๖ เมตร ยาวประมาณ ๒๘๗ เมตร
บ่อพัก ค.ส.ล. ๓๑ บ่อ และบ่อพัก ค.ส.ล.เล็ก ๑๐ บ่อ เป็นเงิน ๑,๖๙๔,๐๐๐
บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียน
๔ ชั้น ๑๒ ห้องเรียน เป็นเงิน ๘,๓๐๐,๐๐๐ บาท และเปิดใช้ปีการศึกษา ๒๕๕๑
ปี พ.ศ. ๒๕๕๗
โรงเรียนได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ ๔ ชั้น
๑๒ ห้องเรียนเป็นเงิน ๑๐,๓๒๘,๐๐๐ บาท จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย
และเปิดใช้ปีการศึกษา ๒๕๕๙
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ รับโอนฉโนดที่ดินจาก นยรัชกร(สุทธพร) และนางธนิดา เกริกกฤตยา พร้อมด้วยบุตรธิดา ประกอบด้วย นายอธินน เกริกกฤตยา , พ.ต.อ. ทรงกล เกริกกฤตยา และ นางธนาวดี กิตติธัญวัฒน์ จำนวน ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๘๓ เศษ ๙ ส่วน ๑๐ ตารางวา ราคาประเมิน ๒๕,๔๓๑,๕๗๕ บาท ตามเอกสารสำคัญ คือ โฉนดที่ดิน เลขที่ ๓๘๕๔ เล่ม ๔๐ หน้า ๕๔
วิสัยทัศน์
ผู้เรียนเป็นคนดีมีความรู้ 3 ภาษา มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความพร้อมด้านปัจจัยทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพครูและบริหารการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. จัดหาและพัฒนาปัจจัยทางการศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ 3 ภาษา มีทักษะในศตวรรษที่ 21
3. ส่งเสริมการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยประสานความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์
1. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ
2. สถานศึกษามีความพร้อมด้านสื่อ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
3. ผู้เรียนมีความรู้ 3 ภาษา และมีทักษะในศตวรรษที่ 21
4. สถานศึกษาบริหารแบบมีส่วนร่วม
5. สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
6. สถานศึกษามีการบริหารหลักสูตรที่เน้นผู้เรียน้ป็นสำคัญตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง